นาซ่าไขปริศนาแสงกระพริบบนโลก แก้ปัญหาคาใจกว่า 24 ปี <br />SPACE — นักดาราศาสตร์คาร์ล เซเกน ได้สังเกตเห็นการกระพริบของแสงปริศนาบนโลกครั้งแรกเมื่อปี 1993 แต่ความลึกลับดังกล่าวไม่ได้ถูกไขให้กระจ่างจน 24 ปีให้หลัง <br /> <br /> <br />กล้องโทรทรรศน์ Earth Polychromatic Imaging Camera ของนาซาที่ตั้งอยู่ในหอดูดาวของ Deep Space หรือ DSCOVR ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณหนึ่งล้านไมล์ ได้ตรวจจับแสงสะท้อนซึ่งปรากฏอยู่เหนือพื้นดินและน้ำ จากพื้นผิวของโลก <br /> <br /> <br />นักวิจัยพบว่าการกระพริบ 866 ครั้งในภาพที่ถ่ายจากยานอวกาศ DSCOVR ระหว่างเดือนมิถุนายน 2015 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2016 และตั้งทฤษฎีว่าอาจมีต้นเหตุมาจากแสงสะท้อนของแดด <br /> <br /> <br />ภายใต้กฎของการสะท้อนแสง การปล่อยแสงจะเกิดขึ้นเฉพาะจุด ดังนั้น การทำมุมระหว่างดวงอาทิตย์และโลกควรจะเท่ากับการทำมุมระหว่างโลกกับยานอวกาศเพื่อให้สามารถรับแสงสะท้อนได้ <br /> <br /> <br />แสงกระพริบถูกระบุว่ามีตำแหน่งทำมุมพอดี <br /> <br />นักวิจัยได้ค้นพบว่าแหล่งที่มาของการสะท้อนดูเหมือนจะเป็นผลึกน้ำแข็งในเมฆที่อยู่ในระดับสูง แสงแดดจะสะท้อนออกจากอนุภาคในแนวนอนและเกิดเป็นแสงสว่างจ้า <br /> <br /> <br />เมื่อไขปริศนาได้แล้ว นักวิจัยจึงวางแผนศึกษาผลึกน้ำแข็งดังกล่าว เพื่อพิจารณาว่าจะมีผลกระทบต่อปริมาณแสงที่ไหลผ่านชั้นบรรยากาศหรือไม่